แลกเปลี่ยน
เป็นช่องทางสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในห่วงโซ่คุณค่าอินทรีย์
เปิดเส้นทางการเรียนรู้
การรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลจากเส้นทางการเรียนรู้ (Learning Journeys) ของสามพรานโมเดลและเครือข่ายพันธมิตร แนวคิดและประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ถอดบทเรียนและ สังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ด้านต่างๆ
สร้างสื่อการเรียนรู้
การถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ผ่านสื่อการเรียนรู้ เช่นบทความ รายงานการศึกษา วิดีโอคลิป การจัดโปรแกรมการเรียนรู้ กิจกรรม เวิร์คชอป เวทีเสวนา เป็นต้น
ภาคการศึกษา
การร่วมมือกับภาคการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัย ในการศึกษาวิจัยเพื่อ ต่อยอดและพัฒนาความรู้ในสาขาต่างๆ

องค์ความรู้หลัก
จากการดำเนินงานของสามพรานโมเดลและพันธมิตร ที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อห่วงโซ่คุณค่าอินทรีย์และการพัฒนาระบบอาหารยั่งยืน นำสู่การถอดบทเรียนองค์ความรู้โดย Sampran Model Academy เพื่อแบ่งปันถ่ายทอดและต่อยอดการประยุกต์ใช้องค์ความรู้บนฐานการปฏิบัติจริงและมุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยน ก่อเกิดความรู้ใหม่อย่างสม่ำเสมอ

องค์ความรู้ส่วนกลางน้ำ
องค์ความรู้ส่วนกลางน้ำ ได้แก่ งานบริหารจัดการธุรกิจและช่องทางเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างแหล่งผลิตต้นน้ำไปสู่ตลาดและผู้บริโภค โดยดำเนินการตามแนวทางธุรกิจเกื้อกูลสังคม (Inclusive Business) ประกอบด้วย หลักการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value) คือการบริหารธุรกิจเพื่อสร้างผลประกอบการพร้อมกันกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นแนวทางการทำงานของสามพรานโมเดลที่มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบโดยให้ทุกคนมามีส่วนร่วมขับเคลื่อน การบริหารจัดการครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์สถานการณ์ การวางแผนธุรกิจ การออกแบบกลยุทธ์ตั้งแต่ส่วนการจัดหาวัตถุดิบถึงการผลิต การขนส่ง การตลาด การเงิน การบริหารทรัพยากรบุคคล และอื่นๆ โดยมีตัวอย่างการดำเนินธุรกิจเกื้อกูลสังคม ได้แก่
-
“การท่องเที่ยววิถีอินทรีย์” (Organic Tourism) เป็นการถอดบทเรียนประสบการณ์ของสวนสามพรานและการทำงานของสามพรานโมเดลในโครงการ Organic Tourism เพื่อส่งเสริมให้เกิดต้นแบบและเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ที่มีบทบาทเชื่อมโยงกับเกษตรกรและผู้บริโภค ครอบคลุมการเรียนรู้การจัดซื้อแบบเกื้อกูล การสร้างสรรค์สินค้าบริการวิถีอินทรีย์ การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ การสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น เกษตรกรให้มีการรวมกลุ่มทำเกษตรอินทรีย์ ความร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน สื่อมวลชน ประชาสังคม เป็นต้น
-
“การบริหารตลาดสีเขียว” เป็นองค์ความรู้จากการถอดบทเรียนการดำเนินงานของตลาดสุขใจและการศึกษาจากช่องทางตลาดอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการกระจายสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่ผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวาง เป็นการสร้างโอกาสธุรกิจให้กับเกษตรกรและยังเป็นพื้นที่สร้างความสัมพันธ์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่า องค์ความรู้มีตั้งแต่การคัดเลือกและจัดสรรสินค้า ผู้ค้า การนำระบบรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS) มาช่วยในการบริหารจัดการโดยให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างผู้ค้ากับผู้บริโภค การสื่อสาร และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและการขาย
องค์ความรู้การจัดการห่วงโซ่คุณค่าโดยรวม
องค์ความรู้การจัดการห่วงโซ่คุณค่าโดยรวม เป็นหลักการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงของห่วงโซ่คุณค่า ได้แก่
-
“องค์กรแห่งการเรียนรู้” (Learning Organization) เป็นแนวทางการบริหารองค์กรบนฐานการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในกลุ่มพนักงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ ลูกค้า คู่ค้า ชุมชน ส่งผลให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน ร่วมสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ และพัฒนางานที่สอดคล้องกับพลวัตการเปลี่ยนแปลง
-
“เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy) เป็นระบบการจัดการที่มุ่งเน้นให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ลดทอนขยะที่ต้องกำจัดทิ้งหรือพลังงานที่สูญเสียโดยการนำกลับมาใช้ใหม่ ส่งผลเป็นการลดต้นทุน เพิ่มรายได้และความสามารถในการแข่งขัน พร้อมกันกับการสร้างความยั่งยืนของสังคมสิ่งแวดล้อม
-
“การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ” (Systems Change) ครอบคลุมการทำความเข้าใจปัญหาเชิงระบบที่มีความซับซ้อนและเชื่อมโยงกับหลายภาคส่วนในหลายมิติ จึงต้องอาศัยการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) การทำงานเป็นทีมโดยมีองค์ประกอบคนที่มีความหลากหลาย ในบทบาท และการสร้างการลงมือทำร่วม (Collective Action)
-
“ผู้นำร่วมการเปลี่ยนแปลง” (Collective Leadership) เป็นแนวทางการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาร่วมเป็นผู้นำในงานตามความรู้ความสามารถ มีเป้าหมายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ โดยมีกรณีปัญหาระบบอาหารที่เกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายจากต้นน้ำถึงกลางน้ำและปลายน้ำเป็นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญ